วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ดอกไม้ประจำวันเกิด





เกิดวันอาทิตย์ 

          ต้นไม้ประจำวันเกิด เป็นต้นพวงแสด ต้นพุทธรักษา ต้นธรรมรักษา และต้นเยอร์บีร่าที่มีดอกสีส้ม 

          ส่วนดอกไม้ประจำวันเกิด เป็นดอกกุหลาบสีส้ม จะถูกโฉลกกับเธอที่เกิดวันอาทิตย์

          คนเกิดวันนี้มีนิสัยทะเยอทะยานและกระตือรือล้น เธอและดอกไม้มีความหมายถึงความฝันอันยิ่งใหญ่ ดอกไม้อีกชนิดสำหรับผู้เกิดวันนี้คือ ดอกทานตะวัน อันเป็นสัญลักษณ์คู่กับพระอาทิตย์เสมอ บอกถึงตัวเธอที่เชื่อมั่น หัวสูง ถือตัว และหยิ่งในศักดิ์ศรีด้วย 




เกิดวันจันทร์            ต้นไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ต้นมะลิ ต้นแก้ว ต้นพุด ต้นจำปี ยิ่งถ้าปลูกแล้วออกดอกหอม เธอจะยิ่งโชคดี 

          ดอกไม้ประจำวันเกิด คือดอกมะลิขาวสะอาด หมายถึงตัวเธอที่มีความนุ่มนวลอ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนดอกไม้อีกชนิดคือ ดอกกุหลาบขาว หมายถึงความรักที่อ่อนโยนและไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนเพราะคนวันจันทร์มักอ่อนไหวง่าย โรแมนติก และช่างฝัน 

ภาพที่ประทับใจ




กล้วยหิน

ลักษณะทั่วไปของต้นกล้วยหอม
       1. เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินที่เป็นลูกรัง หรือดินกรวดหิน
       2. แตกกอเร็ว ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้นาน เพราะกอหนึ่งมีหลายต้น
         3. ลำต้นใหญ่ แข็งแรง ไม่ค่อยมีโรค แมลงระบาด จึงไม่ต้องใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชแต่   อย่างใด
       4. ผลของกล้วยหินมีเปลือกหนา จึงมีความบอบช้ำต่อการขนส่งน้อยกว่า
        5. ผลแก่เก็บได้นาน 7 – 8 วัน ก็ยังไม่เน่าเสีย
        6. ใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ตั้งแต่รากจนถึงปลีและผลโดยเฉพาะผลมีรสชาติ อร่อย แปรรูป
            ได้หลายอย่าง
        7. ปลูกแซมในสวนผลไม้ เป็นร่มเงาได้ดีมาก ทำให้สวนผลไม้มีความชื้น ต้นไม้ผลที่เริ่มปลูกใหม่เจริญเติบโตได้ดีมากขึ้น
        8. ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี 

กล้วยหิน



  
ประวัติความเป็นมาต้นกล้วยหิน
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2488 กล้วยหิน ขึ้นอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำปัตตานี มีใบสีเขียวเข้ม ลำต้นสูง กอใหญ่ ออกเครือประมาณ6-10 หวีผลใหญ่เป็นก้อนดูคล้ายก้อนหินพบครั้งแรก ในเขตตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา คนมักจะเข้าใจว่าเป็นกล้วยป่าที่งอกขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีคุณค่าประโยชน์อันใด แท้ที่จริงแล้วกล้วยหินเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น ของอำเภอบันนังสตา เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกกล้วยหินมากผลผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ของตลาด จนทำให้ราคาผลผลิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้เพราะกล้วยหินใช้เป็นอาหารคนและอาหารนก โดยเฉพาะ นกปรอทหรือนกกรงหัวจุก ซึ่งชาวจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นิยมเลี้ยงนกกันมาก ในส่วนการนำกล้วยหินมาทำเป็นอาหารนั้นทำได้หลากหลาย เช่น นำส่วนที่เป็นแกนของลำต้น  นำมาประกอบอาหาร หรือใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก  หัวปลี ยังนำมาทำเป็นยำหัวปลี ส่วนผลของกล้วยหินใช้รับประทานสดก็ได้ หรือจะต้ม หรือปิ้งก่อนก็ได้  กล้วยหินทอดหรือกล้วยหินยังนำมาเชื่อม ฉาบ โดยเฉพาะกล้วยหินฉาบเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่รู้จักกันโดยทั่วไป รสชาติกรอบอร่อยกว่ากล้วยอื่น ๆ